วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อีแร้ง

ชื่อเรียกอื่นๆ King Vultureลักษณะรูปร่าง พญาแร้ง เป็น นกขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 75 - 85 ซม. หางสั้น ปลายหางค่อนข้าง เป็นรูปพลั่ว ตัวเต็มวัยสีตามลำตัวออกเป็นสีดำ อก และ สีข้างมีแถบสีขาว บริเวณหัว คอ และ ขา สีแดง ปีกสีดำ บริเวณโคน ขน ปลายปีกทั้งด้านบน และ ด้านล่างมีลายพาดสีเทา ตัวไม่เต็มวัย ของ พญาแร้ง แตกต่างจากตัวไม่เต็มวัย ของอีแร้ง อื่นๆ ตรงที่มีสีขาว บริเวณท้องตอนล่าง และ ขนคลุมโคนหาง ในขณะที่ตัวที่ไม่เต็มวัย ของ แร้งอื่นๆ มักจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หัว ปกคลุมไปด้วยขนอุยสีขาวนิสัยประจำพันธุ์ พญาแร้ง พบตามทุ่งนา พื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งโล่ง และป่าต่างๆ มักจะพบ อยู่เป็น ฝูงเล็กๆ ราว 2 - 5 ตัว เราอาจจะพบมันกำลังร่อนเป็นวงกลมอยู่กลางอากาศ หรือ จับเกาะตามกิ่งแห้งของต้นไม้ หรือ ลงเกาะตามพื้นดินอาหารของพญาแร้ง ได้แก่ ซากสัตว์ต่างๆ ซึ่งสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ ทิ้งเอาไว้ หรือซากสัตว์ที่มนุษย์นำไปทิ้ง หรือแม้แต่ซากศพมนุษย์ซึ่งถูกทิ้งไว้ อย่างเช่นคนพื้นเมืองบางท้องที่ ของ ประเทศอินเดีย นิยมทิ้งศพไว้ให้แร้งกินพญาแร้ง มีพฤติกรรมการหาอาหาร ด้วยการจ้องมองหาอาหาร ขณะที่ร่อนอยู่กลางอากาศ เมื่อเห็นอาหาร มันจะบินลงมากิน โดยใช้จะงอยปาก ฉีกซากสัตว์ และ ปกติ จะกินเครื่องในก่อน จากนั้นจึงจะกินเนื้อทีหลัง หากมี สัตว์อื่น ที่แข็งแรงกว่า เช่น เสือ กินซากสัตว์อยู่แล้ว พญาแร้งจะคอยจนกระทั่งเสืออิ่ม และ ผละจากไป จึงจะเข้าไปกิน อาหารต่อ และ จะไล่นกชนิดอื่น รวมทั้งสัตว์อื่นๆ ที่มาแย่งอาหารนั้นด้วยฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ พญาแร้ง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ต่อ ฤดูร้อน หรือ ระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เดือน เมษายน ทำรังตามต้นไม้โดยเฉพาะต้นตาล และ ต้นยางนา เป็นรังขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ โดยใช้กิ่งไม้ต่างๆ วางซ้อนทับตามคอต้นตาล หรือ ตามง่ามของกิ่งไม้ ตัวผู้ และ ตัวเมีย จะช่วยกันเลือกสถานที่สร้างรัง หาวัสดุ และ ร่วมกันสร้างรัง ไข่ มีสีขาว ขนาดโดยเฉลี่ย 66.0 X 83.9 มม. ตัวเมียวางไข่คราวละ ฟองเดียว ระยะเวลา ฟักไข่ ประมาณ 45 วัน ลูกที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีขนอุยสีขาวปกคลุม ลำตัว แต่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะการ หาอาหาร มาป้อน และ ดูแลจนกระทั่งลูกแข็งแรง และ บินได้ จากนั้นจึงจะทิ้งรังไปการแพร่กระจายพันธุ์ อินเดีย เนปาล ตะวันตกเฉียงเหนือของบังคลาเทศ , ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (โดยเฉพาะ ตะวันตก และ ทิศใต้ ของมณฑลยูนนาน ) , มีรายงานการพบบ้างในปากีสถาน , สำหรับเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่หายากมาก ทางภาคตะวันตก ของประเทศไทย , ภาคใต้ของลาว , ตะวันออกเฉียงเหนือ ของกัมพูชา , ตอนเหนือ และ ตอนใต้ ของแคว้นอันนัม ในเวียตนาม , เคยมีรายงานการพบในภาคกลาง ภาคตะวันตก เฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทย , ภาคเหนือของ คาบสมุทร มาลายา , ภาคเหนือ ภาคกลาง ของลาว , ประเทศ ในแถบอินโดจีน , เคยมีรายงาน แต่ปัจจุบันไม่ทราบสถานภาพที่แน่นอน ในพม่า ภาคกลางของแคว้นอันนัม และ เคยมีรายงานไม่ได้รับการยืนยัน ในสิงคโปร์

3 ความคิดเห็น:

kittitach กล่าวว่า...

เนื้อหาดี เเต่ใส่สีจะดีกว่านี้

EarthCUD กล่าวว่า...

โอย...เยอะจัด ย่อด้วยนะงับ จาได้อ่านง่ายขึ้น

Kunato กล่าวว่า...

เคๆเด๋วจะย่อให้